บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) ได้รับประกาศนียบัตรรับรองการต่ออายุสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (CAC Re-Certif | ข่าวสาร | ผลธัญญะ | ศูนย์รวมอุปกรณ์เซฟตี้ อุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล ครบวงจร

ข่าวสาร

หน้าแรก > ข่าวสาร > บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) ได้รับประกาศนียบัตรรับรองการต่ออายุสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (CAC Re-Certif

บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) ได้รับประกาศนียบัตรรับรองการต่ออายุสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (CAC Re-Certif

PHOL รับประกาศนียบัตรรับรองการต่ออายุสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต
(CAC Re-Certification) 



คุณธันยา หวังธำรง (ซ้าย) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL รับมอบประกาศนียบัตรรับรองการต่ออายุการเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition against Corruption หรือ CAC จาก ดร.กอปร กฤตยากีรณ (ขวา)  รองประธานกรรมการ โครงการ CAC  เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 ณ โรงแรม ไฮแอท รีเจนซี่ สุขุมวิท กรุงเทพฯ
โดย บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) ผ่านการรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมปฎิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2559 ซึ่งใบรับรองมีอายุ 3 ปี ในการขอรับการรับรองฯต้องผ่านกระบวนการประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น (Self-Evaluation Tool for Countering Bribery) จำนวน 71 ข้อ สอบทาน และลงนามรับรองโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ เพื่อยื่นต่อคณะกรรมการ CAC พิจารณา




 
โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต หรือ CAC  ซึ่งย่อมาจากคำว่า Collective Action Coalition Against Corruption เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนการจัดตั้งโดยรัฐบาล และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งแต่ปี 2553 และดำเนินการจัดตั้งโดยความร่วมมือของ 8 องค์กรชั้นนำในภาคเอกชนไทย ได้แก่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD), สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยหอการค้าต่างประเทศสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยสมาคมธนาคารไทยสภาธุรกิจตลาดทุนไทยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยมีเป้าหมายหลักของ CAC คือการสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจในภาคเอกชนกำหนดนโยบายต่อต้านการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม และนำกลไกป้องกันการจ่ายหรือรับสินบนมาใช้งาน เพื่อสร้างและขยายเครือข่ายของธุรกิจสะอาดให้กว้างขวางและแข็งแกร่ง และนิติบุคคลภาคเอกชนทุกแห่งสามารถเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์กับโครงการ CAC ได้ด้วยความสมัครใจ เพื่อแสดงจุดยืนของนิติบุคคลนั้นว่า จะร่วมกันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ปัจจุบันมีองค์กร หน่วยงานภาคเอกชน เข้าร่วมโครงการฯ กว่า 900 บริษัท และผ่านการรับรองการเป็นสมาชิกฯแล้ว 397 บริษัท