มาตรฐานการจัดเก็บสารไวไฟ | คลังข้อมูล | ผลธัญญะ | ศูนย์รวมอุปกรณ์เซฟตี้ อุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล ครบวงจร

คลังข้อมูล

หน้าแรก > คลังข้อมูล > มาตรฐานการจัดเก็บสารไวไฟ

มาตรฐานการจัดเก็บสารไวไฟ

เมื่อ 11 ธันวาคม 2556 หมวดหมู่ ความรู้อุปกรณ์เซฟตี้

มาตรฐานการจัดเก็บสารเคมีไวไฟ 29 CFR 1910.106
 
          จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม การใช้สารเคมีที่ไม่มีส่วนประกอบของน้ำได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเพิ่มขึ้นนี้จึงทำให้มีโอกาสในการเกิดอันตรายเกี่ยวกับสารเคมีเหล่านี้มากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงอันตรายกับสุขภาพของคนงานและทรัพย์สิน
          อันตรายอย่างหนึ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้คือการลุกไหม้ ในการป้องกันเพลิงไหม้ ของเหลวอันตรายเหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษในการจัดเก็บ การจัดการและการใช้  หน่วยงานป้องกันเพลิงไหม้แห่งชาติ National Fire Protection Agency (NFPA) และ International Code Council(ICC) ได้กำหนดรหัสเกี่ยวกับเพลิงไหม้และแนวทางการจัดเก็บที่ปลอดภัยและการใช้ของเหลวที่ไวไฟและติดไฟได้  แนวทางเหล่านี้ไม่ใช่ข้อบังคับ นอกจากรัฐบาล, รัฐ หรือหน่วยงานท้องถิ่นเลือกนำมาบังคับใช้  ในทางตรงกันข้าม หน่วยงานเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยในหารทำงาน (OSHA) ได้ปรับปรุงข้อบังคับสำหรับอุตสาหกรรมทั่วไป (29 CFR 1910.106), อุตสาหกรรมก่อสร้าง (29 CFR 1926.152) และอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ (29 CFR 1915.36) เอกสารนี้มีวัตถุประสงค์ในการกล่าวถึงข้อกำหนดของอุตสาหกรรมโดยทั่วไปเท่านั้น
 
ไวไฟหรือติดไฟ?
          เพื่อทำความเข้าใจกับข้อกำหนดของ OSHA สำหรับการจัดเก็บของเหลวที่ไวไฟและติดไฟได้ เราจะต้องเริ่มโดยการแยกความหมายของสองคำนี้ก่อน  ของเหลวไวไฟคือของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 100° F (37.8° C) (ยกเว้นส่วนผสมที่มีส่วนประกอบที่มีจุดวาบไฟที่ 100° F (37.8° C) หรือสูงกว่า , และมีปริมาณรวมไม่เกิน 99 เปอร์เซ็นต์ของส่วนผสม)(1910.106(a)(19)). ของเหลวไวไฟถูกแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่มดังต่อไปนี้
 
Class IA
ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 73° F (22.8° C) และมีจุดเดือดต่ำกว่า 100°F (37.8°C) (1910.106(a)(19)(i)) ตัวอย่างเช่น อะเซทาลดีไฮด์ , เอธิล อีเทอร์ และ ไซโคลเฮกเซน
 
Class IB
ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 73° F (22.8° C) และมีจุดเดือดเท่ากับหรือสูงกว่า 100° F (37.8°C) (1910.106(a)(19)(ii)) ตัวอย่างเช่น อะซีโตน , เบนซิน, และโทลูอีน
 
Class IC
ของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 73° F (22.8° C) และต่ำกว่า 100° F (37.8°C) (1910.106(a)(19)(iii)) ตัวอย่างเช่น ไฮดราซีน , สไตรีน และ เทอร์เพนทีน ของเหลวที่ติดไฟได้คือของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า  100° F (37.8° C) (1910.106(a)(18)) ของเหลวที่ติดไฟได้ถูกแบ่งออกเป็นสองแบบ
 
Class II
ของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 100° F (37.8° C) และต่ำกว่า  140° F (60° C), ยกเว้นส่วนผสมที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 200°F (93.3°C) ซึ่งมีปริมาณในส่วนผสมเท่ากับหรือมากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร (1910.106(a)(18)(i)) ตัวอย่างเช่น กรดอะซิติก , นาล์ฟทา และตัวทำละลายสตอดดาร์ด เป็นต้น
 
Class III
ของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือมากกว่า 140°F (60°C) (1910.106(a)(18)(ii)) ของเหลวคลาส  III ถูกแบ่งย่อยได้เป็นอีกสองคลาสย่อยคือ
 
Class IIIA
ของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 140°F (60°C) และต่ำกว่า 200°F ยกเว้นส่วนผสมที่มีส่วนประกอบที่มีจุดวาบไฟที่ 200°F (93.3°C) หรือสูงกว่า และมีปริมาตร 99 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่าในส่วนผสมนั้น (1910.106(a)(18)(ii)(a)) ตัวอย่างเช่น ไซโคลเฮกซานอล , กรดฟอร์มิก และไนโตรเบนซีน
 
Class IIIB
ของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 200°F (93.3°C) (1910.106(a)(18)(ii)(b)) ตัวอย่างเช่น ฟอร์มาลีน และกรดพิคริค
 
*จากหัวข้อ 1910.106(a)(18)(ii)(b) ของเหลวในClass IIIB จะรวมไปถึงของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 200°F (93.3°C)  ในเอกสารส่วนนี้จะไม่รวมถึงของเหลวClass IIIB ถ้ามีการกล่าวถีงของเหลวClass III ในที่นี้จะหมายถึงเฉพาะของเหลว Class IIIA  เท่านั้น (ของเหลวClass IIIB ในเอกสารนี้ใช้ในการอ้างอิงเท่านั้น)
 
*หมายเหตุ : เมื่อของเหลวที่ติดไฟได้ถูกให้ความร้อนถึง 30°F (16.7°C) ของจุดวาบไฟ มันจะต้องถูกตัดการตามข้อกำหนดของของเหลวคลาสที่ต่ำกว่าถัดไป (1910.106(a)(18)(iii)).จุดวาบไฟและจุดเดือดจะบอกถึงคลาสของของเหลว อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้สิ่งนี้เป็นเกณฑ์ในการบอกถึงความเป็นอันตรายของของเหลวแต่เพียงอย่างเดียว มีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการที่ควรจะนำมาพิจารณาสำหรับการใช้และการจัดเก็บของเหลวที่เหมาะสม ปัจจัยเหล่านี้รวมถึง อุณหภูมิจุดระเบิด , ระดับการระเบิด (LEL หรือ UEL), ความดันไอ, ความถ่วงจำเพาะ และความหนาแน่นของไอ

 
ถังบรรจุที่ปลอดภัย (Safety Storage)
 
           
เทคนิคอย่างหนึ่งในการลดอันตรายที่เกี่ยวกับของเหลวไวไฟและติดไฟได้คือการใช้ถังบรรจุที่ปลอดภัย  OSHA ได้ให้คำนิยามของถังบรรจุที่ปลอดภัยว่า “ภาชนะบรรจุที่ได้รับการอนุมัติใช้ และความจุไม่เกิน 5 แกลลอน มีฝาปิดที่มีสปริงและมีแผ่นกั้นบริเวณปากถังและถูกออกแบบให้มีที่ระบายแรงดันกรณีที่อยู่ภายใต้ไฟ” (1910.106(a)(29)) คำนิยามนี้ ทำให้มีถังบรรจุที่หลากหลายที่ได้รับการตีความว่าเป็นถังบรรจุที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม กฎหมายท้องถิ่นหลายๆแห่งและบริษัทประกันภัยได้กำหนดให้ถังบรรจุจะต้องผ่านการรับรองโดยองค์กรด้านโรงงานอุตสาหกรรม Factory Mutual (FM) หรือ รับรองโดยห้องปฏิบัติการ Underwriter Laboratory(UL) องค์กรทั้งสองนี้เป็นองค์กรอิสระที่มีห้องปฏิบัติการที่ได้รับความเชื่อถือซึ่งผู้ผลิตได้ส่งสินค้าเข้าไปตรวจสอบเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดความปลอดภัยในการใช้งานและตรงกับงาน ถังบรรจุที่สอดคล้องกับข้อกำหนดจะได้รับการรับรองจากทั้ง FM และ UL   ห้องปฏิบัติการทั้งสองแห่งยังได้รับการรับการยอมรับจาก OSHA            
 
นอกเหนือจากการจัดเก็บของเหลวที่ไวไฟและติดไฟได้ในภาชนะบรรจุที่ปลอดภัย, ข้อกำหนดหมายเลข 29 CFR 1910.106 ยังได้จำกัดปริมาณของของเหลวในภาชนะแต่ละถัง ตารางต่อไปนี้แสดงปริมาณของเหลวที่ยอมให้บรรจุสำหรับของเหลวแต่ละคลาส
 
ขนาดใหญ่ที่สุดที่ยอมได้ของภาชนะบรรจุและถังโลหะ
ชนิดของถังบรรจุ ของเหลวไวไฟ ของเหลวติดไฟ
คลาส IA คลาส IB คลาส IC คลาส II คลาส III
แก้วหรือพลาสติกที่ได้รับอนุมัติ 1 ควอท 1 ควอท 1 แกลลอน 1 แกลลอน 1 แกลลอน
โลหะ(ที่ไม่ใช่ถังแบบ DOT) 1 แกลลอน. 5 แกลลอน 5 แกลลอน 5 แกลลอน 5 แกลลอน
ถังบรรจุที่ปลอดภัย 2 แกลลอน 5 แกลลอน 5 แกลลอน 5 แกลลอน 5 แกลลอน
ถังโลหะ (ตามข้อกำหนด DOT) 60 แกลลอน 60 แกลลอน 60 แกลลอน 60 แกลลอน 60 แกลลอน
ถังโลหะแบบพกพาที่ได้รับอนุมัติ 660 แกลลอน 660 แกลลอน 660 แกลลอน 660 แกลลอน 660 แกลลอน


ข้อยกเว้นสำหรับกฎนี้
• ยา , เครื่องดื่ม , อาหาร , เครื่องสำอาง และสินค้าอุปโภคที่คล้ายคลึงกัน หากได้รับการบรรจุหีบห่อตามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป
 
ข้อกำหนดหมายเลข 29 CFR 1910.106 ยังได้จำกัดปริมาณของของเหลวที่เก็บอยู่นอกตู้หรือห้องเก็บ  ปริมาณของของเหลวที่สามารถเก็บภายนอกห้องเก็บหรือตู้ในพื้นที่อาคารจะต้องไม่เกินปริมาณต่อไปนี้
 
• 25 แกลลอน สำหรับของเหลว คลาส IA ในภาชนะบรรจุ
•120 แกลลอน สำหรับของเหลว คลาส IB, IC, II หรือ III ในภาชนะบรรจุ
•660 แกลลอน สำหรับของเหลว คลาส  IB, IC, II หรือ III liquids ในถังบรรจุเดี่ยวแบบพกพา
 
ปริมาณของของเหลวที่จัดเก็บและตำแหน่งของตู้เก็บอยู่ในข้อบังคับหมายเลข 1910.106 (d)(3) ซึ่งระบุว่า “ไม่ให้เก็บของเหลวคลาส I หรือคลาส II เกินจำนวน 60 แกลลอน หรือของเหลวคลาส III เกินจำนวน 120 แกลลอน ในตู้เก็บ”  และ ตามข้อกำหนดหมายเลข NFPA 304.3.2 ให้มีตู้สำหรับจัดเก็บไม่เกินสามตู้ในพื้นที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้พื้นที่เดียวกัน
 
 
ตู้จัดเก็บสารไวไฟ Flammable Storage Cabinet Requirements
 
            
พื้นฐานในการป้องกันไฟอีกอย่างหนึ่งคือการใช้ ตู้จัดเก็บสารไวไฟ   NFPA, OSHA และ UFC ได้กำหนดให้ตู้จัดเก็บสารไวไฟได้รับการออกแบบและสร้างตามข้อกำหนด  ข้อกำหนดหมายเลข 1910.106(d)(3)(ii)(a) ได้ระบุว่า ตู้โลหะจะต้องสร้างตามลักษณะดังนี้
 
• ด้านล่าง, ด้านบน และด้านข้างของตู้จะต้องใช้แผ่นเหล็กอย่างน้อยเบอร์ 18
• ตู้จะต้องมีผนังสองชั้นและมีช่องว่างอากาศ 1 ½ นิ้ว
• ต้องยึดรอยต่อด้วยหมุด , การเชื่อม , หรือทำให้แน่นโดยวิธีการที่เทียบเท่ากันนี้
• ประตูจะต้องมีจุดยึดสามจุด
• ประตูจะต้องมีร่องพับขึ้นอย่างน้อย 2 นิ้วเหนือแนวล่างสุด เพื่อเห็บของเหลวที่อาจกระเด็นให้อยู่ภายในตู้เก็บ
• ตู้เก็บจะต้องมีป้ายแจ้งว่า  “ไวไฟ ห้ามนำไฟเข้ามาใกล้”  
 
ข้อบังคับนี้ มีข้อกำหนดสำหรับตู้เก็บที่ทำด้วยไม้ ข้อกำหนดหมายเลข  1910.106(d)(3)(ii)(b) ระบุว่า ตู้เก็บที่ทำด้วยไม้ จะต้องสร้างโดยมีลักษณะดังนี้
 
• ผนังด้านล่าง, ด้านบน และด้านข้างของตู้เก็บจะต้องทำด้วยไม้อัดซึ่งเป็นเกรดสำหรับใช้ภายนอกและหนาอย่างน้อย 1 นิ้ว
• ไม้อัดจะต้องไม่แตกออกจากกันหรือแยกออกขณะเกิดเพลิงไหม้
• ข้อต่อจะต้องมีการบากและยึดด้วยสกรูไม้ที่มีหัวเรียบทั้งสองทิศทาง
• หากใช้ประตูสองบาน จะต้องมีรอยทาบซ้อนกันไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว
• ประตูจะต้องมีกลอนและบานพับที่ไม่หลวมเมื่อเกิดเพลิงไหม้
• ฐานของประตูหรือถาดควรจะถูกยกพับขึ้นอย่างน้อย 2 นิ้ว เหนือพื้นตู้ เพื่อเก็บของเหลวที่กระเด็นให้คงอยู่ภายในตู้
• ตู้เก็บจะต้องมีป้ายแจ้งว่า  “ไวไฟ ห้ามนำไฟเข้ามาใกล้”
 
นอกเหนือจาก ข้อกำหนดตามที่ได้กล่าวมาด้านบน UFC ( Uniform Fire Code) ยังกำหนดให้ใช้ประตูที่ปิดเองได้องค์กรท้องถิ่นหลายๆ แห่งก็ใช้มาตรฐานนี้ในการสร้างข้อกำหนดขึ้นมาใช้ในท้องถิ่นเอง
 
พื้นที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้  

OSHA ไม่ได้ให้คำนิยามความหมายของพื้นที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้มาในมาตรฐาน , อย่างไรก็ตาม พื้นที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้ได้ถูกกำหนดโดย NFPA Code 30 (1.6.15) ว่า “พื้นที่ของอาคารที่แยกจากพื้นที่อื่นๆ โดยการก่อสร้าง สามารถต้านทานไฟได้อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง และอุปกรณ์สื่อสารจะต้องถูกป้องกันอย่างเหมาะสมโดยสามารถทนต่อไฟไหม้อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง

นอกจากนี้ NFPA ยังได้ให้จัดให้มีการแบ่งกลุ่มของตู้เก็บสารไวไฟในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ไม่มีผนังกั้นระหว่างแต่ละส่วน “ในโรงงานอุตสาหกรรม, ตู้ที่มีเพิ่มเติมสามารถตั้งไว้ในพื้นที่เดียวกันได้ ถ้าตู้หรือกลุ่มของตู้ที่เพิ่มขึ้นมามีไม่มากกว่าสามตู้ และวางแยกห่างจากตู้หรือกลุ่มตู้อื่นๆ อย่างน้อย 100 ฟุต (30 เมตร) ( ข้อ 4.3.2 ข้อยกเว้นที่ 1)
 

คำถามที่ถูกถามบ่อย
 
ถาม เมื่อทำการจ่ายของเหลวไวไฟ  ฉันจำเป็นจะต้องใช้สายผูกยึดหรือต่อสายดินหรือไม่ ?
ตอบ ตามข้อกำหนดหมายเลข 1910.106(e)(6)(ii), จำเป็นต้องใช้สายผูกยึดหรือสายดินกับของเหลวคลาส  I เท่านั้น , อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของท่าน ควรต่อสายดินเสมอเมื่อทำการจ่ายของเหลวไวไฟหรือของเหลวที่ติดไฟได้ 
ถาม ฉันจำเป็นจะต้องมีตู้เก็บสารไวไฟหรือไม่ ?
ตอบ  OSHA ไม่ได้กำหนดให้จะต้องใช้ตู้เก็บสารไวไฟ นอกจากจำนวนรวมของของเหลวไวไฟหรือของเหลวที่ติดไฟได้มีมากกว่าที่กำหนด องค์กรท้องถิ่นหรือบริษัทประกันอาจกำหนดให้ใช้ตู้เก็บสารไวไฟในปริมาณสารที่น้อยกว่าข้อกำหนดของ OSHA
ถาม อะไรคือข้อแตกต่างของถังบรรจุที่ปลอดภัยแบบ I และแบบ II ?
ตอบ ถังบรรจุที่ปลอดภัยแบบ I สามารถมีปากถังที่ใช้รินออกหรือเติมของเหลวเข้าไปที่เดียวกันได้  ถังบรรจุที่ปลอดภัยแบบ II จะมีช่องเปิดสองที่ สำหรับรินออกหนึ่งช่องและสำหรับเติมหนึ่งช่อง
ถาม ที่ดักจับเปลวไฟคืออะไรละมีหน้าที่อะไร?
ตอบ ที่ดักจับเปลวไฟคือตาข่ายหรือแผ่นโลหะที่ถูกเจาะให้เป็นรูและใส่ไว้ในภาชนะเก็บสารไวไฟ(เช่นถังบรรจุที่ปลอดภัย, ตู้) ซึ่งป้องกันสิ่งที่อยู่ภายในจากเปลวไฟหรือประกายไฟภายนอก  มันยังสามารถระบายความร้อนได้ ถังบรรจุแบบ I และแบบ II และถังแบบพิเศษจะมีที่ดักจับเปลวไฟรวมอยู่ด้วย
ถาม ตู้เก็บสารไวไฟจำเป็นต้องมีการระบายอากาศทางกลหรือไม่ ?
ตอบ OSHA  ไม่ได้กำหนดให้ใช้การระบายอากาศโดยทางกล  NFPA แนะนำให้ใช้การระบายอากาศโดยทางกลแต่จะต้องระบายอากาศโดยสอดคล้องกับ NFPA 91 ระบบระบายไอเสียสำหรับสารที่แพร่กระจายในอากาศ  
 
 
 
pholonline ร้านค้าอุปกรณ์เซฟตี้ Online